ทำพาสปอร์ตแรงงานต่างด้าว { MOU } ให้คำปรึกษา ฟรี
ทำพาสปอร์ตแรงงานต่างด้าว { MOU } ให้คำปรึกษา ฟรี
  หน้าแรก  |   เกี่ยวกับเรา  |   ติดต่อเรา  |   Ci กับ PJ  |  passport  |  ใหม่  |   เข้าสู่ระบบผู้ดูแลเว็บ  


27 กรกฎาคม 2567
หมวดหมู่สินค้า
DVD ซีรี่ย์เกาหลี ญี่ปุ่น..

หมวดหมู่ย่อย



กรมการจัดหางาน สำนัก บริหารแรงงานต่างด้าว



ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ผ่านระบบออนไลน์



พืช6ชนิดทำอาหาร​ไก่​ไข่​ กินแล้วไข่ดกๆ



วิธีทำหนังสือผ่านแดน ชั่วคราวออนไลน์ E- Border pass ไปเที่ยวลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย



พืชกระท่อม



วีดิทัศน์ โครงการศึกษา และ ออกแบบวางผังชุมชน ชายแดน บ้านน้ำพุร้อน กาญจนบุรี



ลงทุนพม่าต้องเตรียม ตัวอย่างไร?



ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ผ่านระบบออนไลน์



ลาว



สวัสดีครับ ทุกท่าน


จำนวนผู้เข้าชม : 0000002001

ทำพาสปอร์ตแรงงานต่างด้าว { MOU } ให้คำปรึกษา ฟรี

   ข่าวสาร และ ประกาศ

ขึ้นทะเบียน ใหม่

แรงงานต่างด้าว

ทุกกลุ่ม

ที่ผิดกฎหมาย


ขึ้นทะเบียนใหม่ได้แล้วครับ

  •          081-8585563     ID Line ccbbaa2020

E-mail : tmdc2024@gmail.com

บริษัท  ไทยพม่าเซอร์วิส จำกัด

สิ่งที่จะได้รับ     ขึ้นทะเบียนใหม่  ရရှိမည့်အခွင့်အရေး

  1. บัญชีรายชื่อความต้องการแรงงานต่างด้าว             နိုင်ငံခြားအလုပ်သမားများ၏ လိုအပ်ချက်စာရင်း
  2. ใบรับรองแพทย์ ใบประกันสุขภาพ                       ဆေးလက်မှတ် ၊ ကျန်းမာရေး အာမခံလက်မှတ်
  3. ใบอนุญาตทำงาน                                           အလုပ်လုပ်ကိုင်ခွင့်(ဝါ့ပါမစ်)4
  4. ตรวจอัตลักษณ์ที่ ตม.                                      လက်ဗွေနှိပ်(လူဝင်မှုကြီးကြပ်ရုံး)
  5. CI เล่มเขียว 4 ปี                                            CI စာအုပ်စိမ်း
  6. VISA                                                           ဗီဇာ
  7. บัตรอนุญาตทำงาน                                         အလုပ်လုပ်ခွင့်ကတ်
  8. บัตรชมพู  10 ปี                                             ပန်းရောင်ကတ် ၁၀နှစ်
                                                                      **သူဌေးမရှိသူများ သူဌေးအငှားရှာပေးသည်**

**** ติดต่อ အသေးစိတ်အချက်အလက်များသိရှိလိုပါကဆက်သွယ်ရန်***

             081-8585563       094-8982006    092-1904423

รายการบาท
စာရင်းဇယားยื่นบัญชีรายชื่อ1,000
รับรองเอกสารถูกต้องผ่าน4,000
ใบรับรองแพทย์
ประกันสุขภาพ
ทำใบอนุญาตทำงาน5,000
ถ่ายอัตลักษณ์1,000
ถ่ายบัตรชมพู ( 10 ปี )1,000
MOU10,000
ค่าเดินทาง2,000
ค่าบริการ1,000
รวม25,000
ค่าภาษีพม่าแรงงานพม่าจ่ายเองที่ศูนย์ 600 บาท
วัน/เดือน/ปี
วันส่งเอกสาร จ่าย 5,000 บาท
ได้บัญชีรายชื่อ จ่าย 10,000 บาท5-ก.ค.
จองคิว MOU จ่าย 5,000 บาท10-ส.ค.
ไปทำ MOU จ่าย 5,000 บาท30-ส.ค.
มีพาสปอร์ตแล้วลด 5,000 บาท
ขึ้นทะเบียนเอกสารต้องใช้
1. บัตรประชาชนนายจ้าง
2. ทะเบียนบ้านนายจ้าง
3. เบอร์โทรนายจ้าง
4. อาชีพนายจ้าง
3. หน้าพาสปอร์ต(ไม่มีไม่เอา)
4. บัตรประชาชนของลูกจ้าง
5. รูปถ่ายด้วยโทรศัพท์
เพิ่มเติม สงสัย โทร . 081-8585563 , 094-8982006
เลขบัญชี 069-3-82293-9 ( พิสิษฐ์ ภัทรยศรัตนิน )

  ร่างแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ปี 2567

1. ยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ( 15 วัน )

1. บริษัทนำเข้าฯ ยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว

2. ผ่านระบบออนไลน์

2. ยื่นขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว (90 วัน )

      1. ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ตามแบบ บต.50 อ.6

         2. ชำระค่าธรรมเนียม 1 ปี

      3. พิมพ์ใบรับคำขอพร้อมกับใบเสร็จรับเงินออกจากระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้เป็นหลักฐาน

      4.  ตรวจสุขภาพ รพ.รัฐ / รพ.เอกชน ที่เชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจสุขภาพกับ กกจ.

-  ประกันสังคม / ประกันสุขภาพ รพ.รัฐ หรือประกันเอกชนที่เชื่อมโยงข้อมูลการประกันสุขภาพกับ กกจ.

3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ / อนุมัติ ( 30 วัน )

4. จัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล ( 90 วัน )

5. จัดทำทะเบียนประวัติภายใน 1 ปี

หมายเหตุ

1.        ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่หลบหนีเข้าเมืองหรือ

การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลา 15 วัน

 เพื่อดำเนินการตาม ข้อ 1

2.        เมื่อดำเนินการตามข้อ 1 แล้วให้ดำเนินการตามข้อ 2 

และเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอนุมัติตามข้อ 3 แล้ว แรงงานต่างด้าว

จะได้รับอนุญาตทำงานเป็นระยะเวลา 1 ปีทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 1 ปี 

ให้ดำเนินการเพื่อกลับไปนอกราชอาณาจักรและกลับเข้ามาทำงานตาม MOU

3.        ให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานดำเนินการตามข้อ 4 

ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

4.        ให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานดำเนินการตามข้อ 5 ภายใน 1 ปี

 

 

 

วันคล้ายวันเกิด ที่สโมสรกองทัพบก เทเวศร์ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร

 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ นำคณะไป

เมืองเนปีดอร์       (Naypyidaw) หรือบางครั้งสะกดเป็น 

เนปีตอ (Nay Pyi Taw) 

(มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลาง

      ทวาย เมืองสำคัญทางทะเล พม่า ห่างจังหวัดกาญจนบุรี 130

. มีโครงการทำถนนจากกาญจนบุรีไปเวลานี้มีทางที่รถวิ่งไปได้แล้ว

 เมืองย่างกุ้ง  เพื่อนๆที่ติดต่ออยู่ นิสัยดีทุกคน รับรองได้

ว่าเป็นศูนย์รวมนักธุรกิจพม่าที่นิสัยดีทุกคน

แหล่งแร่พลวงที่เจดีย์สามองค์ในพม่า ติดจ.กาญจนบุรี

  •         081-8585563     ID-Line    ccbbaa2020

E-mail=  chucheep9@gmail.com    www.tmdc2009.com

ขึ้นทะเบียนใหม่ได้แล้วครับ

 
พม. ได้จัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์ความพร้อมของประเทศไทยต่อการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
 
1. คำนิยามและขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายภายใต้อนุสัญญาฯ ไม่ได้มีการจำกัดความไว้ชัดเจน ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้รัฐภาคีสามารถนิยามคำว่า “เด็กลี้ภัย” และสามารถกำหนดขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมตามกฎหมายและมาตรการที่ใช้อยู่ภายในประเทศได้ โดยเมื่อปี 2564 ประเทศไทย (กรมกิจการเด็กและเยาวชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ได้มีการกำหนดนิยามคำว่า “เด็กลี้ภัย”3 “ตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ คือ “เด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ” และมีคำจำกัดความ คือ “บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยอายุไม่ถึง 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้นที่เข้ามาหรือพำนักอยู่ในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนา โดยมีเหตุอันจะเชื่อได้ว่าจะได้รับอันตรายจากการถูกประหัตประหาร”
 
2. สถานการณ์เกี่ยวกับเด็กที่ได้รับสิทธิตามข้อ 22 ในประเทศไทย ประเทศไทยให้การช่วยเหลือบุคคลที่หลบหนีจากการประหัตประหารบนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรมมากว่า 70 ปี ซึ่งมีจำนวนกว่าล้านคนเคยพักพิงอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวก่อนเดินทางกลับประเทศต้นทางหรือไปสู่ประเทศที่สาม โดยมีการจำแนกเด็กเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
(1) กลุ่มเด็กผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา จากเหตุการณ์ความรุนแรงในเรื่องของความขัดแย้งทางการเมืองและชาติพันธุ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในเมียนมาตั้งแต่ปี 2531 ชาวเมียนมาได้หนีภัยการสู้รบเข้ามาแสวงหาที่พักพิงในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นประชากรเด็กจำนวนประมาณ 32,000 คน คิดเป็นร้อยละ 41 ของประชากรผู้หนีภัยการสู้รบทั้งหมด ซึ่งประเทศไทยได้มีการให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่พักพิงชั่วคราว จำนวน 9 แห่ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี ซึ่งมีการให้บริการขั้นพื้นฐาน เช่น การศึกษา การฝึกอาชีพ การบริการสุขภาพ รวมถึงพัฒนากลไกคัดกรองผู้หนีภัยการสู้รบ
(2) กลุ่มเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงในเขตเมือง ประชากรกลุ่มนี้มีความหลากหลายและเพิ่มมากขึ้นในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดใหญ่ในประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ตาก โดยมีทั้งกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้าประเทศไทยมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและพำนักต่อในประเทศภายหลังเอกสารตรวจลงตราหมดอายุ และกลุ่มที่เดินทางเข้าประเทศไทยผิดกฎหมายโดยผ่านเส้นทางธรรมชาติ ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ประมาณการว่า มีประชากรเด็กจำนวน 1,800 คน คิดเป็นร้อยละ 35 ของประชากรผู้ลี้ภัยในเขตเมืองทั้งหมด ซึ่งมาตรการช่วยเหลือที่ผ่านมาผู้ลี้ภัยในเขตเมืองจำนวนหนึ่งได้รับการคัดกรองเป็นบุคคลในความห่วงใยของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและองค์การพัฒนาเอกชนให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
นอกจากนี้ ในด้านการศึกษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองสิทธิในการจัดการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี ให้เด็กทุกคนในประเทศไทย ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงด้วย
 
ความพร้อมของประเทศไทยในการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ประเทศไทยมีความพร้อมต่อการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากการที่ประเทศไทยได้ตีความข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ให้เป็นไปภายใต้กรอบการดำเนินการรองรับการคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยที่ประเทศไทยดำเนินการอยู่แล้ว ทั้งด้านกลไก มาตรการ กฎหมาย พันธกรณี กติกา และตราสารระหว่างประเทศที่ประเทศไทยรองรับ (เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีข้อบทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเด็กลี้ภัยอยู่ด้วย) ส่งผลให้การดำเนินการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยของประเทศไทยเป็นมาตรการที่เหมาะสมตามอนุสัญญาฯ ข้อ 22 เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งให้ความคุ้มครองเด็กทุกคนอย่างครอบคลุมและไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะยังมีข้อห่วงใยเกี่ยวกับการถอนข้อสงวน ข้อ 22 บางประการ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลระบุตัวตนเด็ก การกำหนดบริการด้านสาธารณสุขที่ชัดเจนในประเด็นการเข้าถึงบริการ ระบบคัดกรอง แนวทางการส่งต่อบริการ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง แต่ประเทศไทยได้ดำเนินการขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนบริการสำหรับเด็กที่ได้การรับรองสิทธิตามข้อ 22 โดยจะได้มีการตอบสนองต่อข้อห่วงใยในประเด็นต่าง ๆ เพื่อยกระดับการดูแลเด็กทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้พัฒนาระบบการดูแลเด็กในอนาคต
 
แผนปฏิบัติการการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ4 ได้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ ตัวชี้วัดหลัก และกรอบระยะเวลาอย่างเป็นขั้นตอนในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิเด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ เพื่อยกระดับการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สรุปได้ ดังนี้
 
ประเด็นกรอบระยะเวลาหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
การสำรวจกรอบกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ และการดำเนินการที่เหมาะสมตามที่หน่วยงานดำเนินการอยู่แล้วรวมถึงการกำหนดแนวทางการพัฒนากรอบกฎหมาย นโยบาย การดำเนินการภายหลังการถอนข้อสงวนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล3-6 เดือน- พม.
- กระทรวงมหาดไทย (มท.)
- กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)
- กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)
การจัดประชุมส่วนราชการเพื่อกำหนดโครงสร้างและกลไกการประสานงานเพื่อรองรับการดำเนินการคุ้มครองสิทธิสำหรับเด็กที่ได้รับการรับรองตามอนุสัญญาฯ และพัฒนาแนวทางการดำเนินการของโครงสร้างและกลไก
การประสานงานสำหรับเด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามอนุสัญญาฯ ภายหลังการถอนข้อสงวน
3-6 เดือน
 
พม.
การจัดประชุมส่วนราชการเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบข้อมูลและทะเบียนประวัติการให้บริการ การจัดสรรงบประมาณและการส่งเสริมทัศนคติของบุคลากรในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิเด็กที่ได้รับการรับรองสิทธิตามอนุสัญญาฯ3-6 เดือน- พม.
- มท.
- ยธ.
- ศธ.
- สธ.
การนำเสนอข้อมูลความพร้อมของประเทศไทยต่อการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ ต่อคณะรัฐมนตรี การจัดทำตราสารเพื่อถอนข้อสงวน และการจัดส่งตราสารเพื่อเสนอต่อองค์การสหประชาชาติ6 เดือน-1 ปี
 
- กต.
- พม.
 
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาข้างต้นพบว่า การถอนข้อสงวน ข้อ 22 ไม่ได้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเข้าเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 แต่ประการใดและไม่ได้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยโดยวิธีหรือการดำเนินการอื่นใด ซึ่งขัดต่อกรอบกฎหมายที่มีในประเทศ โดยการดำเนินมาตรการการช่วยเหลือเด็กผู้ลี้ภัยจะเป็นไปตามหลักการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม และไม่ได้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องผูกมัดการดำเนินงานตามแนวทางหรือกฎหมายในการให้ความช่วยเหลือเด็กผู้ลี้ภัยใด ๆ ที่นอกเหนือจากกรอบกฎหมายที่มีอยู่ในประเทศ เห็นได้จากที่ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเกือบทั้งหมดได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ในขณะที่จำนวนรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยนั้นไม่ได้มีการรับรองจากประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติเพื่อเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีในทุกประเทศ เช่น ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซียหรือประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ก็ไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951
 
ประโยชน์จากการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ
1 เด็กทุกคนจะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างปราศจากการเลือกปฏิบัติยึดประโยชน์ของเด็กเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองและดูแลช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้
2 หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์การระหว่างประเทศด้านเด็กในประเทศไทย สามารถดำเนินงานในด้านของเด็กในบริบทการโยกย้ายถิ่นฐานได้อย่างครอบคลุม
3 เป็นการส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยและเด็กในบริบทการโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับคำมั่นที่ประเทศไทยได้ให้ไว้ในเวทีระหว่างประเทศและเป็นการพัฒนาภาพลักษณ์ที่ดีและมุมมองด้านบวกของประเทศไทย รวมถึงลดการแทรกแซงหรือการตั้งคำถามโดยไม่จำเป็นในประเด็นสิทธิมนุษยชน
 
คณะกรรมการส่งเสริมเด็กและเยาวชนแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 เห็นชอบการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ และมอบหมายให้ พม. นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
 
ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มาเพื่อสนับสนุนเรื่องการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาฯ มาจากงบประมาณแผ่นดิน หมวดงบดำเนินงาน งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกรมกิจการเด็กและเยาวชน ตามที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงบประมาณ (สงป.)



Slideshow Products













  DESIGN & DEVELOP BY NAXZA WEB HOSTING :   NAXZA Mall MARKET PLACE